ฮือฮา! ยานสำรวจจีน สามารถจับภาพ วัตถุปริศนาบนดวงจันทร์

ฮือฮา! ยานสำรวจจีน สามารถจับภาพ วัตถุปริศนาบนดวงจันทร์

กลายเป็นที่สนใจของชาวเน็ตเป็นอย่างมากหลังจากที่ ยานสำรวจจีน สามารถจับภาพ วัตถุปริศนาบนดวงจันทร์ ได้ คาดใช้เวลา 2-3 เดือนก่อนถึงที่หมาย เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม สำนักข่าว SCMP รายงานว่า ยานโรเวอร์สำรวจพื้นผิวอวี้ทู่-2 หรือ Yutu-2 ของประเทศจีนกำลังมุ่งหน้าสำรวจกระท่อมลึกลับ ซึ่งเป็นวัตถุปริศนา ตั้งอยู่ในซีกใต้ของด้านไกลของดวงจันทร์

โดยการสำรวจครั้งนี้เริ่มต้นขึ้นหลังจากที่เจ้าหน้าที่สังเกตได้เห็นถึงวัตถุดังกล่าว 

ขณะที่กำลังตรวจสอบรูปภาพที่ถูกถ่ายโดย อวี้ทู่-2 โดยวัตถุนี้ ห่างออกไปทางเหนือราว 80 เมตร ขณะที่ยานกำลังข้ามแอ่งฟอน คาร์มาน ซึ่งมีสภาพเป็นแอ่งขนาด 180 กิโลเมตร และเมื่อนักวิทยาศาสตร์เห็นวัตถุประหลาดก็ได้แสดงความสนใจจนนำไปสู่การสำรวจในครั้งนี้

ยานโรเวอร์สำรวจพื้นผิวอวี้ทู่-2 มีความเร็วเฉลี่ยนน้อยกว่า 1 เมตร หากเทียบกับระยะเวลาหนึ่งวันของโลก คาดว่าจะใช้เวลาหลายเดือนก่อนที่ยานจะเดินทางถึงวัตถุปริศนานี้ ในขณะที่ต้องหลีกเลี่ยงแอ่งต่างๆ ที่สังเกตเห็นเป็นจุดๆ บริเวณด้านไกล

อวี้ทู่-2 ทำการลงจอดบนดาวจันทร์เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2019 และได้รับมอบหมายให้ออกสำรวจพื้นที่รอบๆ แอ่งฟอน คาร์มาน

การร่วมกันรับมือกับภาวะฉุกเฉินด้านสภาพอากาศ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นที่อยู่อาศัยของประชากรจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลก และเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่อ่อนไหวที่สุดต่อผลกระทบร้ายแรงอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ดังนั้นทวิตเตอร์จึงมีบทบาทสำคัญในการส่งผ่านข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ได้งานได้ทันทีในช่วงที่เกิดเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติ อีกทั้งยังเป็นข้อมูลที่สามารถใช้ประโยชน์ต่อไปได้ด้วยการสนับสนุนและพันธสัญญาจากเหล่านักพัฒนาที่มุ่งมั่นสร้างสิ่งต่างๆ เพื่อรับมือกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ

แคทเธอรีน รีน ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายนโยบายสาธารณะ และการให้เพื่อสังคม ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของทวิตเตอร์ กล่าวว่า “บริการแบบเปิดเพื่อสาธารณะที่เป็นเอกลักษณ์ของทวิตเตอร์ ถูกใช้โดยผู้คนจำนวนมากทั่วโลกเพื่อแบ่งปันและแลกเปลี่ยนข้อมูลในยามวิกฤต เราตระหนักถึงความรับผิดชอบของเราในการมอบความมั่นใจว่าผู้คนสามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ และเรายังได้ทำงานเพื่อขยายข้อมูลที่น่าเชื่อถือจากแหล่งสื่อต่างๆ ที่เชื่อถือได้ ซึ่งรวมถึงหน่วยงานของรัฐ ตลอดจนองค์กรบรรเทาสาธารณภัยและอาสาสมัครต่างๆ  เราได้เห็นแล้วว่าข้อมูลของทวิตเตอร์สามารถนำไปใช้ประโยชน์แบบเรียลไทม์ได้อย่างไร เพื่อมอบความช่วยเหลือที่จำเป็นแก่ผู้คนในพื้นที่ประสบภัย เพิ่มการรับรู้และความเข้าใจในวงกว้างเกี่ยวกับผลกระทบของวิกฤตนั้นๆ และที่ผ่านมาทวิตเตอร์ ยังคงมุ่งมั่นที่จะเสริมแกร่งให้กับผู้คนจำนวนมากขึ้นในการมีบทบาทอย่างแข็งขันในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกของสังคมไปพร้อมๆ กันกับพันธมิตรทั้งหลายของเรา”

กรณีศึกษา: น้ำท่วมใหญ่ในกรุงจาการ์ตา โดย พีตา เบนคานา (Peta Bencana)

ในเดือนมกราคม 2563 ปริมาณน้ำฝนที่ทำลายสถิติวัดได้ ได้ท่วมกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยเหตุเกิดจากการมีน้ำมากเกินกว่าที่โครงสร้างพื้นฐานของเมืองจะสามารถรองรับได้ ทำให้เกิดน้ำท่วมรุนแรง ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ส่วนใหญ่ของเมืองหลวง ทำให้มีผู้บาดเจ็บหลายสิบรายและมีผู้พลัดถิ่นฐานหลายพันราย ขณะที่น้ำเพิ่มระดับขึ้นจนปิดการจราจรบนถนน ปิดสนามบินแห่งหนึ่งของเมือง และต้องมีการตัดไฟฟ้า ผู้ที่อยู่อาศัยในเมืองหลายล้านคนไม่หยุดค้นหาและแบ่งปันข้อมูลล่าสุดบนทวิตเตอร์ โดยในสัปดาห์แรกของเดือนมกราคม 2563 นั้น มีทวีตข้อความเกี่ยวกับน้ำท่วมเฉพาะในกรุงจาการ์ตามากกว่า 20,000 ครั้ง

เพื่อให้ทวีตสาธารณะจากแหล่งคนหมู่มากได้ส่งข้อมูลอย่างรวดเร็วเกี่ยวกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น บริษัท พีตา เบนคานา ได้พัฒนา “บอทเพื่อมนุษยธรรม” หรือ “humanitarian bot” บนทวิตเตอร์ด้วยการใช้ซอฟต์แวร์แบบโอเพ่นซอร์สที่เรียกว่า CogniCity โดยบอทนี้จะคอยจับทวีตไปสู่แอคเคาท์ @PetaBecana ด้วยการจับคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับน้ำท่วมและภัยพิบัติต่างๆ (เช่นคำว่า “บันจีร์” ซึ่งแปลว่าน้ำท่วมในภาษาบาฮาซาของอินโดนีเซีย) จากผู้คนทั่วอินโดนีเซีย และทวีตตอบกลับอัตโนมัติด้วยข้อความแนะนำวิธีการแบ่งปันข้อสังเกตของตน และใช้ข้อมูลเหล่านี้เองในการสร้างแผนที่น้ำท่วมขึ้นได้

แผนที่น้ำท่วมที่จัดทำขึ้นโดย พีตา เบนคานา มีคนให้ความสนใจเข้าถึงมากกว่า 259,000 ครั้งในช่วงที่สถานการณ์น้ำท่วมเลวร้ายสูงสุด ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 24,000% ภายในเวลาเพียงหนึ่งสัปดาห์ ผู้อยู่อาศัยได้ตรวจสอบแผนที่ เพื่อทำความเข้าใจต่อสถานการณ์น้ำท่วม สามารถหลีกเลี่ยงพื้นที่น้ำท่วม และตัดสินใจเกี่ยวกับความปลอดภัยและการรับมือต่อสถานการณ์ที่กำลังประสบอยู่

สำนักงานจัดการเหตุฉุกเฉินของจาการ์ตา (หรือ BPBD DKI Jakarta) ยังได้คอยตรวจสอบแผนที่ เพื่อช่วยเหลือตามความต้องการของผู้อยู่อาศัย และประสานงานรับมือเข้าช่วยเหลือตามความรุนแรงและความต้องการฉุกเฉินตามที่ได้รับรายงาน เมื่อน้ำลดและมีความช่วยเหลือที่เข้าถึงได้แล้ว สำนักงานฯ ยังได้อัปเดตข้อมูลล่าสุดอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับย่านต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม

ก่อนการแพร่ระบาดใหญ่ของไวรัสทั่วโลกในปี 2563 นั้น หลายชีวิตในออสเตรเลียได้เผชิญกับอันตรายร้ายแรงมาแล้ว โดยตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2562 ถึงมีนาคม 2563 ไฟป่าในออสเตรเลียได้ลุกลามเผาไหม้พื้นที่ 13.6 ล้านเอเคอร์ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ และได้ทำลายล้างสัตว์ป่าและระบบนิเวศวิทยาของภูมิภาค (NYT, 2020)

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป