เกาหลีเหนือ สั่ง ห้ามหัวเราะ ในช่วงไว้อาลัยครบรอบ 10 ปี ‘คิมจองอิล’ เสียชีวิต

เกาหลีเหนือ สั่ง ห้ามหัวเราะ ในช่วงไว้อาลัยครบรอบ 10 ปี ‘คิมจองอิล’ เสียชีวิต

เกาหลีเหนือ ออกกฎเข้ม สั่ง ห้ามหัวเราะ หรือ สังสรรค์ ในช่วงไว้อาลัยครบรอบ 10 ปี ‘คิมจองอิล’ ผู้ก่อตั้งเกาหลีเหนือ ที่เสียชีวิตในเดือนนี้ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม สำนักข่าว ฟ็อกซ์นิวส์ ได้รายงานว่า ทางการเกาหลีเหนือได้ประกาศสั่งห้ามไม่ให้ประชาชนชาวเกาหลีเหนือหัวเราะเป็นระยะเวลา 11 วัน ในช่วงวันครบรอบ 10 ปี ของนาย คิมจองอิล บิดาของนายคิม จอง อึน และเป็นผู้ก่อตั้งประเทศเกาหลีเหนือ

โดยนอกจากห้ามหัวเราะแล้ว ทางการยังห้าม ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์  

ทำกิจกรรมเพื่อความบันเทิง จัดพิธีศพหรืองานเลี้ยงฉลอม ในช่วงเวลาดังกล่าว และในวันที่ 17 ธ.ค. ประชาชนยังไม่สามารถซื้อของอีกด้วย ซึ่งประชาชนที่ไม่ออกนามได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อว่า ในช่วงหลายวันที่ผ่านมา เขาเห็นประชาชนที่ดื่มแอลกอฮอลล์ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมตัวไป และในขณะนี้ยังไม่ได้รับการปล่อยตัว นาย คิมจองอิล ปกครองประเทศเกาหลีเหนือตั้งแต่ช่วงปี 2537 ถึงปี 2554 ก่อนที่จะยกตำแหน่งให้ คิมจองอึล ลูกชายคนเล็กสุด ก่อนที่อดีตผู้นำเกาหลีเหนือจะเสียชีวิตในปีเดียวกัน

หนุ่มมะกันถูก ไล่ลงจากเครื่องบิน หลังจากที่สวมกางเกงในแทนหน้ากากอนามัย อ้างต้องการแสดงให้เห็นว่ากฎบังคับใส่หน้ากากเป็นกฎที่งี่เง่า เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม สำนักข่าว ชาแนลนิวส์เอเชีย รายงานว่า เจ้าหน้าที่บนเครื่องบินจำเป็นต้องไล่ นาย อดัม เจนเน ชายวัย 38 ปีลงจากเครื่อง ก่อนที่เครื่องบินจะออกเดินทางจากท่าอากาศยาน ฟอร์ตลอเดอร์เดล รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา

หลังจากที่ชายคนดังกล่าวสวมกางเกงในแทนหน้ากากอนามัย ซึ่งถือเป็นการละเมิดมาตรการโควิดที่บังคับให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โดยจากวิดีโอที่ถูกบันทึกไว้โดยผู้โดยสารคนอื่น นาย เจนเน และเจ้าหน้าที่มีปากเสียงกัน โดยเขาพยายามยืนกรานว่ากางเกงในของเขาคือหน้ากากอนามัย และสามารถใช้ได้ผลแบบเดียวกันกับหน้าการอนามัยทั่วไป อย่างไรก็ตามหลังจากที่ทั้งสองฝ่ายมีปากเสียงกัน ชายที่สวมกางเกงในก็ยอมลุกจากที่

ด้านชายที่อยู่ในคลิปได้ให้สัมภาษณ์ภายหลังว่า เขาต้องการแสดงให้เห็นว่ากฎบังคับใส่หน้ากากเป็นกฎที่ไร้สาระ เนื่องจากทางสายการบินอนุญาตให้ถอดหน้ากากอนามัย เพื่อทานข้าวหรือดื่มน้ำบนเครื่องบิน

เกิดเหตุ ไฟไหม้ตึกญี่ปุ่น ในจังหวัดโอซาก้า คาดมีผู้เสียชีวิต 27 ศพ เบื้องต้นดับไฟได้แล้ว แต่ยังไม่ทราบสาเหตุของเพลิงไหม้ในครั้งนี้ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม สำนักข่าว อัลจาซีร่า รายงานว่า เกิดเหตุไฟไหม้บริเวณชั้นสี่หรือชั้นห้าของอาคารซึ่งเป็นชุดช็อปปิ้งในเมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น

เบื้องต้นรายงานว่ามีผู้ได้รับผลกระทบครั้งนี้แล้ว 28 ราย ในจำนวนดังกล่าวเชื่อว่าหัวใจและปอดล้มเหลวแล้ว 27 ราย โดยเจ้าหน้าที่สามารถดับไฟได้แล้ว แต่ยังไม่มีรายงานถึงสาเหตุของเพลิงไหม้ หรือรายละเอียดอื่นๆ

รัฐสภา ‘ออสเตรีย’ ผ่าน ‘กฎหมายช่วยฆ่าตัวตาย’

รัฐสภาของประเทศ ออสเตรีย ได้ประกาศถึงการผ่านบังคับใช้ กฎหมายช่วยฆ่าตัวตาย (assisted suicide law) สำหรับผู้ป่วยหนักได้อย่างเป็นทางการ 

วันนี้ (17 พ.ค. 2564) รัฐสภาประจำประเทศ ออสเตรีย ได้ทำการประกาศถึงการรับรองกฎหมายที่เปิดให้สามารถดำเนินการช่วยเหลือในการฆ่าตัวตายได้อย่างถูกกฎหมาย หรือ กฎหมายช่วยฆ่าตัวตาย (assisted suicide law) สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหนัก ซึ่งตัวกฎหมายนั้นจะมีการบังคับใช้งานอย่างเข้มงวด

โดยเป็นการดำเนินการที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา ภายหลังจากที่กฎหมายที่สั่งห้ามมิให้ดำเนินการดังกล่าวนั้นจะหมดอายุลงภายในปลายปีนี้ และได้รับคำสั่งศาลที่ระบุว่าการกระทำดังกล่าวนั้นถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ซึ่งการบังคับใช้งานกฎหมายนี้ก็เพื่อที่จะเปิดให้มีการดำเนินการนี้ได้ภายใต้ข้อบังคับที่มีความเข้มงวด

ในส่วนของเงื่อนไขในการช่วยฆ่าตัวตายนั้นมีรายละเอียดด้วยกันดังนี้ ผู้ที่จะได้รับการดำเนินการจะต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มีอาการเจ็บป่วยต่อเนื่อง, ถาวร หรือมีอาการป่วยในระยะสุดท้าย โดยในแต่ละกรณีนั้นจะถูกพิจารณาโดยแพทย์ 2 รายด้วยกัน หนึ่งในนั้นจะต้องมีความเชี่ยวชาญในด้านการรักษาบรรเทา/การดูแลรักษาแบบประคับประคอง (palliative medicine) ซึ่งจะทำการพิจารณาว่าผู้ป่วยนั้นจะถูกเลือกให้ได้รับการการุณยฆาตหรือไม่

ซึ่งกระบวนการนี้จะใช้ระยะเวลา 12 สัปดาห์ ในการพิจารณาให้แพทย์เข้าถึงกระบวนการดังกล่าว เพื่อที่จะให้มั่นใจได้ว่าการการุณยฆาตนั้นจะไม่ได้อยู่ในช่วงวิกฤติชั่วคราว (ช่วงเวลาที่ผู้ป่วยนั้นมีอาการแย่ฉบับพลันแต่สามารถได้รับการฟื้นฟู หรือรักษาให้ดีขึ้น) แต่ทว่าสำหรับผู้ป่วยใน “ขั้นสุดท้าย” ของการป่วยนั้น จะสามารถย่นระยะเวลาลงให้อยู่ภายใน 2 สัปดาห์ได้

บุคคลที่ผ่านการพิจารณาดังกล่าวนั้น จะดำเนินการร่างพินัยกรรมของตนเองกับทนายความหรือผู้ที่ให้การช่วยเหลือกับผู้ป่วย ก่อนที่จะได้รับยาฆ่าตัวตายจากเภสัชกรที่รับผิดชอบในส่วนนี้

Alma Zadic, รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมของออสเตรียนั้นได้กล่าวว่า นอกเหนือจากกฎหมายนี้แล้วนั้น แนวทางดังกล่าวจะถูกพิจารณาให้ครอบคลุมถึงแนวทางอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากการฆ่าตัวตายด้วย โดยจะมีการขยายให้ครอบคลุมถึงบ้านพักพิง และสถานดูแลบำบัด ขณะเดียวกันรัฐบาลออสเตรียก็จะทำการเพิ่มงบประมาณสำหรับการดำเนินการเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตายให้มากขึ้นอีกด้วย

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป